หากพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์และทองคำในปัจจุบัน มูลค่าของทองคำในตลาดโลกปัจจุบันจะถูกตีราคาเป็นสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนและหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยคาดการณ์ราคาทองคำก็คือค่าเงินดอลลาร์ แล้วทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบทความนี้มีคำตอบ
ทำไมทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ทั่วโลกต้องการ
- เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ทุกคนทั่วโลกมองว่ามีมูลค่าในตัว ในอดีตถูกใช้เป็นสินทรัพย์ในการแลกเปลี่ยนทางการค้า ในปัจจุบันทองคำสามารถเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศได้เช่นเดียวกับสกุลเงินดอลลาร์
- สินทรัพย์ปลอดภัย ทองคำได้ชื่อว่าเป็น หลุมหลบภัยชั้นดีของนักลงทุน เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ทองคำก็ยังสามารถรักษามูลค่าของเงินที่ลงทุนไว้ได้เป็นอย่างดี
- ความเสี่ยงต่ำ แม้ว่าราคาทองคำจะมีความผันผวนตลอดเวลา หากเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ แล้วทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมากในการลงทุน ตั้งแต่ปี 1971 มูลค่าทองคำเพิ่มขึ้นปีละ 10%
- ลงทุนได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเทรดในสกุลเงินทองคำ XAUUSD, กองทุนรวมทองคำ ,กองทุนรวมอีทีเอฟทองคำ (Gold ETFs) หรือสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (Gold Futures) เป็นต้น
ราคาทองคำขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง
- นโยบายการเงิน
- ทิศทางของอัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นราคาทองคำมักจะปรับตัวลดลง เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ให้ผลตอบแทน ดั้งนั้นราคาขึ้นลงของทองคำก็มักจะเทียบกับสินทรัพย์ตัวอื่น ๆ ที่ให้ดอกเบี้ย เช่น พันธบัตรรัฐบาล
- นโยบายการแทรกแซงตลาด อาจจะมีธนาคารกลางบางแห่งก็อาจจะมีนโยบายเข้ามาแทรกแซงตลาดเพื่อควบคุมสภาพคล่องซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อราคาทองคำได้เช่นกัน
- สภาวะเศรษฐกิจ
- เศรษฐกิจชะลอตัวหรือเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ นักลงทุนจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเช่นทองคำ ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เมื่อสภาวะปกติทองคำราคาจะลดลง
- อัตราเงินเฟ้อ เมื่อเกิดอัตราเงินเฟ้อสูงราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นสูง มูลค่าของเงินจะลดลง ทองคำจึงเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยรักษามูลค่าของเงินไว้
- ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์
- สงคราม ความขัดแย้งหรือเหตุการณ์ทางการเมืองที่ตรึงเครียด นักลงทุนจะมีความกังวลก็จะหันมาลงทุนในสินทรัพย์ safe heaven ส่งผลให้ราคาทองคำสูงขึ้น
- ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจอย่างเช่นจีนกับสหรัฐฯ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ก็จะกระตุ้นให้เกิดความต้องการทองคำในฐานะของสินทรัพย์ safe heaven เช่นกัน
- อุปสงค์และอุปทาน
- เมื่อความต้องการในทองคำมากขึ้นแต่ทองคำมีปริมาณที่จำกัด ก็จะส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น
- การสำรองทองคำของธนาคารกลางหลายประเทศก็มีบทบาทสำคัญทำให้ราคาทองคำพุ่งตัวสูงขึ้
- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
- การเทรดสกุลเงินทองคำ XAUUSD ในตลาดการเงินอย่าง Forex นั้นราคาทองคำ 1 ออนซ์จะมีราคาเป็นสกุลเงินดอลลาร์ ดังนั้น การซื้อขายทองคำจึงเป็นสกุลเงินดอลลาร์
- ราคาทองคำจึงขึ้นอยู่กับความแข็งค่าอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ถ้าดอลลาร์แข็งค่าก็จะใช้เงินดอลลาร์จำนวนหนึ่งในการซื้อขายทองคำ แต่ถ้าดอลลาร์อ่อนค่าลงก็จะใช้เงินดอลลาร์มากขึ้นในการซื้อขายทองคำ
- ด้วยราคาทองคำขึ้นอยู่กับสกุลเงินดอลลาร์ ถ้าดอลลาร์แข็งค่าราคาทองคำจะถูกลงแต่ถ้าดอลลาร์อ่อนค่าราคาทองคำจะแพงขึ้นนั่นเอง
ปัจจัยที่ส่งผลราคาทองคำ ได้แก่ นโยบายการเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ย, สภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น, ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามความขัดแย้ง, อุปสงค์และอุปทาน ความต้องการซื้อขายทองคำ และค่าเงินดอลลาร์ จำนวนเงินดอลลาร์ที่ใช้ซื้อขายทองคำ
ความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์กับทองคำ
ความสำคัญของสกุลเงินดอลลาร์
- ได้รับการยอมรับว่าเป็นสกุลเงินหลักของโลก มีความน่าเชื่อถือสูงในการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
- ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังสามารถครองความเป็นอันดับหนึ่งของโลกช่วยสนับสนุนความสำคัญของเงินดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง
- หลายประเทศยังคงเลือกสำรองเงินระหว่างประเทศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีมากถึง 2 ใน 3 ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลก
- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังถูกใช้กำหนดเป็นอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินทั่วโลก
- เกือบ 40% ของหนี้ทั่วโลกอยู่ในรูปแบบขอเงินดอลลาร์
- สินค้าหลายอย่างที่มีการค้าขายระหว่างประเทศยังคงถูกกำหนดราคาด้วยสกุลเงินดอลลาร์มากถึง 88.3% ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ราคาทองคำ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มาของความสัมพันธ์ระหว่างสกุลเงินดอลลาร์กับทองคำ USD VS GOLD
เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์สหรัฐฯกับราคาทองคำมากขึ้น ควรจะศึกษาประวัติศาสตร์ของระบบการเงินโลกซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์และทองคำ ระบบการเงินโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ระบบด้วยกัน ได้แก่
วิวัฒนาการของระบบการเงินโลกซึ่งเป็นที่มาของความสัมพันธ์ระหว่างเงินดอลลาร์และทองคำ มี 4 ระบบ ได้แก่ ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) ช่วงปี ค.ศ. 1870-1914, ระบบมาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard) ช่วงปี ค.ศ. 1918-1939, ระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) ช่วงปี ค.ศ. 1944-1973 และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) ช่วง ค.ศ. 1973-ปัจจุบัน
- ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard)
- เป็นระบบมาตรฐานการเงินในช่วงปี ค.ศ. 1870-1914 หรือก่อนหน้านั้น เป็นระบบมาตรฐานการเงินระบบแรกของโลก ซึ่งประชาชนสามารถนำเงินกระดาษตามจำนวนที่กำหนดมาแลกเป็นทองคำได้
- เริ่มโดยประเทศสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น เงินปอนด์สเตอร์ลิงได้รับการยอมรับไปทั่วโลกได้ผูกค่าไว้กับทองคำ มีการพิมพ์เงินกระดาษโดยได้รับการหนุนหลังจากทองคำ
- เป็นระบบการเงินที่ค่าเงินมีความเสถียร เงินเฟ้อต่ำ การเกร็งกำไรมีน้อย ดุลบัญชีเงินทุนไม่ค่อยมีวิกฤต เป็นยุคทองของระบบการเงิน เป็นระบบที่มีความนิยมไปทั่วโลก
- ระบบมาตรฐานทองคำ ส่งเสริมให้เศรษฐกิจของอังกฤษและสหรัฐฯเติบโตได้อย่างรวดเร็วจนเงินปอนด์สเตอร์ลิงและเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
- ปัญหาของระบบการเงินแบบระบบมาตรฐานทองคำ ก็คือ ทองคำมีปริมาณจำกัด จำนวนเงินที่มีอยู่ในระบบจะไม่สามารถมีมากกว่าทองคำที่มีอยู่ในระบบได้
- ระบบมาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard)
- เป็นระบบมาตรฐานการเงินเกิดในช่วงปี ค.ศ. 1918-1939 มีความคล้ายกับระบบมาตรฐานทองคำ
- เป็นระบบการเงินที่อยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้ระบบนี้แทนเนื่องจากทองคำขาดแคลนอย่างหนักจนขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจ
- ความแตกต่างกันของระบบนี้แค่ทุนสำรองของแต่ละประเทศ สามารถสำรองได้ทั้งทองคำและสกุลเงินสำคัญที่สามารถแลกเป็นทองได้ สกุลเงินที่ได้รับการยอมรับ เช่น เงินปอนด์สเตอร์ลิงและเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
- เป็นระบบที่ใช้สกุลสำคัญเข้ามาเป็นทุนสำรองเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนของทองคำ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในทุนสำรองระหว่างประเทศ
- ในขณะเดียวกันประเทศอังกฤษก็เริ่มสูญเสียความมีอำนาจในทางเศรษฐกิจให้กับสหรัฐฯ จนสกุลเงินสำคัญที่ใช้เป็นตัวกลางระหว่างประเทศจึงเป็นของดอลลาร์สหรัฐฯ แทน
- หลังจากที่มีการยกเลิกระบบ Gold Standard หลายประเทศประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและภาวะสงคราม อีกทั้งระบบการเงินโลกมีการขยายตัวขึ้นมีความซับซ้อนมากขึ้นจนมีปัญหามากมายจนกระทบการค้าระหว่างประเทศเพราะขาดมาตรฐานระบบการเงินกลางที่ใช้ร่วมกัน
- ระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods)
- เป็นระบบมาตรฐานการเงินเกิดในช่วงปี ค.ศ. 1944-1973
- ในปี ค.ศ.1944 หรือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีประเทศเศรษฐกิจสำคัญ 44 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองเบรตตันวูดส์ มลรัฐนิวแฮมเชียร์ สหรัฐอเมริกา
- ประเทศเศรษฐกิจสำคัญ 44 ประเทศได้ประชุมหารือกันเพื่อกำหนดมาตรฐานระบบการเงินของโลก เพื่อสร้างระบบอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศให้มีเสถียรภาพมากขึ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
- ผลการประชุมได้แนวทางระบบการเงิน ก็คือ แต่ละประเทศจะไม่มีการกำหนดค่าเงินเองหรือผูกไปกับทองคำ แต่ละสกุลเงินจะอ้างอิงกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯแทน เงินดอลลาร์ถูกผูกค่าไว้กับทองคำ
- โดยทองคำ 1 ออนซ์จะมีมูลค่าเท่ากับ 35 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- เหตุผลที่เลือกสกุลเงินดอลลาร์ในเวลานั้นเนื่องจากสหรัฐฯ มีทองคำมากที่สุดมีมาถึง 2 ใน 3 ของโลก
- ทำให้ผู้แทนจำนวน 770 กว่าคนจาก 44 ประเทศ ได้ลงความเห็นตกลงร่วมกัน ว่าจะใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นมาตรฐานการเงินใหม่
- ประเทศต่าง ๆ จะนำสกุลเงินของตัวเองมาผูกกับสกุลเงินดอลลาร์อีกที และนี่คือระบบเบรตตันวูดส์ หรือ ระบบค่าเสมอภาค
- ในขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานดูแลด้านเสถียรภาพทางการเงินขึ้นอีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) และธนาคารเพื่อการก่อสร้างและการพัฒนา(IBRD)
- และนี่คือจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์และทองคำ
- แต่สหรัฐฯพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมามากกว่าปริมาณทองคำที่มีอยู่จริงอย่างมหาศาล ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯไม่สามารถแลกเงินดอลลาร์กลับมาเป็นทองคำได้
- จนมาถึงจุดที่จำนวนเงินดอลลาร์ไม่สัมพันธ์กับจำนวนทองคำที่มี เนื่องจากทองคำไม่สามารถหนุนหลังให้สกุลเงินดอลลาร์ได้อีกต่อไป
- ในวันที่ 15 สิงหาคม 1971 หรือเรียกว่าวันนิกสันช็อก(The Nixon’s Shock) เนื่องจากนิกสันผู้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯในขณะนั้นได้ประกาศนโยบายใหม่ว่า จะระงับการแปลงค่าเงินดอลลาร์เป็นทองคำหรือสินทรัพย์อื่น ๆ เป็นการชั่วคราว
- ซึ่งได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อระบบการเงิน และในปีเดียวกันก็ได้เกิดภาวะเงินเฟ้อครั้งยิ่งใหญ่และส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเวลาต่อมา จนได้มีการยกเลิกระบบ Bretton Woods
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate)
- เป็นระบบมาตรฐานการเงินเกิดในช่วงปี ค.ศ. 1973-ปัจจุบัน
- มูลค่าของเงินจะขึ้นลงไปตามความต้องการซื้อหรือ Demand และความต้องการขายหรือ Supply ของนักลงทุนในตลาดเงินซึ่งค่าเงินสามารถแปรเปลี่ยนมูลค่าได้ตลอด
- โดยมูลค่าของทองคำโลกจะยังคงมีการกำหนดราคาเป็นสกุลเงินดอลลาร์ และราคาทองคำจะมีการขึ้นลงตามความต้องการเช่นกัน ทำให้ราคาทองคำสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
- เป็นจุดกำเนิด Dollar Index ที่มีการกำหนดค่าเริ่มต้นไว้ที่ 100 ถ้าหากค่า Dollar Index มากกว่า 100 เมื่อเทียบกับ 6 สกุลเงินที่กำหนดไว้แสดงว่าดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
Dollar Index คืออะไร มีความสัมพันธ์กับราคาทองคำอย่างไร
Dollar Index จะใช้วัดความแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เทียบกับ 6 สกุลเงินได้แก่ Euro น้ำหนัก 57.6%, Japanese yen น้ำหนัก 13.6%, Pound sterling น้ำหนัก 11.9%, Canadian dollar น้ำหนัก 9.1%, Swedish krona น้ำหนัก 4.2% และ Swiss franc น้ำหนัก 3.6% รวมแล้วได้ 100% ถ้าค่า Dollar Index มากกว่า 100 แสดงว่าค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ามากกว่า 6 สกุลเงิน
- ใช้เป็นมาตรวัดความแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯกับสกุลเงินสำคัญบนโลกนี้ถึง 6 สกุลเงิน ได้แก่ เยน, ปอนด์สเตอร์ลิง, ดอลลาร์แคนาดา, โครนาสวีเดน, ฟรังก์สวิส และยูโร
- มีอัตราเฉลี่ยน้ำหนักต่างกัน โดยเงินยูโรมีน้ำหนัก 57.6% รองลงมาเป็นเงินเยน และเงินปอนด์สเตอร์ลิงตามลำดับ เงินฟรังก์สวิสจะมีน้ำหนักน้อยที่สุด รวมอัตราเฉลี่ยน้ำหนักเป็น 100%
- การที่เงินยูโรมีน้ำหนักมากที่สุดหมายความว่าถ้า Dollar Index ปรับสูงขึ้นหมายความว่าเงินยูโรอ่อนตัวลง และถ้าค่า Dollar Index มีค่ามากกว่า 100 แสดงว่าค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ามากกว่า 6 สกุลเงิน
- ใช้ Dollar Index สามารถใช้บอกแนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ เช่น น้ำมันหรือทองคำ หมายความ Dollar Index ปรับตัวสูงขึ้น เงินดอลลาร์มีการแข็งค่ามากขึ้น
- เงินดอลลาร์แข็งค่ามากขึ้นแปลว่าเงินดอลลาร์มีค่าในตัวเองมากขึ้น จึงใช้เงินดอลลาร์จำนวนที่น้อยลงในการซื้อสินค้าในปริมาณเท่าเดิม หมายความว่าราคาสินค้ามีราคาถูกลงนั่นเอง
- ตัวอย่างเช่น ถ้า Dollar Index ปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันจะมีราคาถูกลง นั่นเอง แต่ถ้า Dollar Index ปรับตัวลดลงราคาน้ำมันก็จะมีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
- หากเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นทองคำ ก็คือ ถ้า Dollar Index ปรับตัวสูงขึ้น ราคาทองคำจะปรับตัวลดลง แต่ถ้า Dollar Index ปรับตัวลดลงราคาทองคำก็จะปรับตัวสูงขึ้น
- อีกความหมายหนึ่งของ Dollar Index ปรับตัวลดลง ก็คือ Fund Flow จากประเทศสหรัฐฯ ที่สามารถทำกำไรได้มากกว่าการลงทุนธุรกิจในสหรัฐฯ เช่น ทองคำ, หุ้นต่างประเทศ หรือบิทคอยน์ เป็นต้น
จากภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Dollar Index และราคาทองคำ จะพบว่ามีความสัมพันธ์ที่แปรผกผันกันเป็นส่วนมาก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้นักลงทุนเลือกลงทุนมากกว่าดอลลาร์และทองคำ ที่มาเว็บไซต์ macromicro
บทสรุป
ระบบ Bretton Woods เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์สหรัฐและราคาทองคำ USD VS GOLD ในปัจจุบันราคาทองคำถูกกำหนดด้วยสกุลเงินดอลลาร์ แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯก็เป็นตัวแปรสำคัญต่อความต้องการทองคำของตลาดโลกซึ่งส่งผลอย่างมากต่อราคาทองคำ
ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์กับทองคำเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจัยของราคาทองคำมีความเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์เป็นภาพสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์สหรัฐและราคาทองคำ USD VS GOLD
เทรด XAUUSD ต่างกับซื้อทองปกติยังไง
ทำความเข้าใจ CFD อย่างละเอียด
การใช้เลเวอร์เลจ (Leverage) ในการเทรด XAUUSD
ราคาทองในไทย VS ราคาทองโลก