เมื่อโลกอยู่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจจนตลาดต่าง ๆ เกิดความผันผวน ไม่ว่าจะมาจาก ภาวะเงินเฟ้อ หรือสงครามทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ จะพบว่าราคาทองคำกลับปรับตัวสูงขึ้นเสมอ เหตุผลก็คือ ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด และเป็นหลุมหลบภัยชั้นดีของนักลงทุนทั่วโลก
ทำไมนักลงทุนเลือกลงทุนในทองคำเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
เหตุผลสำคัญที่นักลงทุนเลือกลงทุนในทองคำเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ มีดังนี้
- มีความเสี่ยงต่ำ
- ปัจจัยที่พิจารณาในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ก็คือ สินทรัพย์นั้น ๆ สามารถรักษามูลค่าไว้ได้ หากมองระยะยาวทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- เอาชนะเงินเฟ้อได้
- ผลกระทบที่สำคัญของอัตราเงินเฟ้อ เมื่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจึงทำให้คุณค่าของเงินรายได้ที่จะได้รับเกิดมีมูลค่าลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการซื้อสินค้าลดลง
- ทองคำมีมูลค่าที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อทำให้สามารถมีอำนาจในการซื้อสินค้าที่ต้องการยังคงอยู่
- จึงทำให้นักลงทุนย้ายพอร์ตจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อไปสู่ทองคำ เช่น เงินตราที่ต้องขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย ถูกกระทบด้วยนโยบายทางการเงิน
- ความสามารถที่สำคัญของทองคำ คือ ปกป้องอำนาจการซื้อไว้ได้ดีที่สุดในยามเศรษฐกิจวิกฤต
- เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
- เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทองคำได้รับการยอมรับจากนักลงทุน ก็คือ การที่ IMF ได้จัดให้ทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับสกุลเงินสำคัญของโลกอย่างดอลลาร์ หรือเงินยูโร
- มีความปลอดภัยจับต้องได้
- ในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจนักลงทุนนิยมถือเงินสด และทองคำ แต่ทองคำมีความปลอดภัยมากกว่า
- ทองคำมีปริมาณที่จำกัด การผลิตมีขั้นตอนที่ไม่ง่ายในขณะที่เงินธนบัตรสามารถปั๊มออกมาใช้กันได้ง่ายกว่า ดังนั้นในเรื่องความปลอดภัยทองคำถือว่ามีความปลอดภัยมากกว่าการถือสกุลเงินต่าง ๆ
- คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกอย่างของทองคำ ก็คือ สามารถจับต้องได้ ไม่เกิดสนิม สีไม่หมอง ไม่สึกกร่อน สามารถถือครองได้ยาวนานและมูลค่าก็ไม่ลดลง สามารถหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้เสมอ
- มีสภาพคล่องสูง
- ทองคำถูกยกย่องให้เป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากกว่าเงิน จึงสามารถใช้แทนเงินในการชำระหนี้หรือมีความน่าเชื่อถือสูงในการสร้างเครดิตทางการเงิน
- อิสระจากการเมืองและการตลาด เมื่อเกิดสงครามระหว่างประเทศจะมีบางสกุลเงินที่ถูกห้ามใช้ทำให้ค่าเงินของสกุลนั้น ๆ หมดค่าทันที แต่กับทองคำไม่มีใครมีอำนาจสั่งการแบบนี้ได้
- มีค่านิยมเก็บทองคำ เมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจหรืออยู่ในภาวะสงคราม
- มีมูลค่าอยู่เสมอ
- ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ตการลงทุนเสมอ ไม่ว่าในภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร หากภาวะปกติทองคำจะอยู่ในพอร์ตน้อยลง เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจวิกฤตก็จะมีการเก็บทองคำเพิ่มขึ้น
- เป็นที่ต้องการอยู่เสมอ เมื่อนักลงทุนหรือคนทั่วไปมีเงินเก็บมากพอ ทุกคนก็มักจะนำเงินจำนวนนั้นมาลงทุนในทองคำ เพราะว่าทองคำสามารถรักษามูลค่าของเงินที่ซื้อได้และยังเพิ่มมูลค่าขึ้นไปอีก
เหตุผลที่นักลงทุนนิยมเลือกลงทุนในทองคำยามเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ก็คือ การลงทุนในทองคำมีความเสี่ยงต่ำ, ชนะเงินเฟ้อได้, ทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ, มีความปลอดภัยที่จับต้องได้, มีสภาพคล่องสูง และมีมูลค่าอยู่เสมอ
ส่องสถิติภาวะวิกฤตส่งผลราคาทองคำพุ่ง
ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านจะพบว่ามีวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญถึง 4 ครั้งด้วยกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทองคำได้รับความนิยมจากนักลงทุนจนส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งตัวสูงขึ้น ได้แก่
- วิกฤตฟองสบู่
- เกิดขึ้นในช่วงปี 2000 สาเหตุมาจากการโฆษณาเชิญชวนให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นเทคอย่างบ้าคลั่งโดยไม่มีการศึกษาปัจจัยพื้นฐาน ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งสูงเกินจริงมากจนเกิดวิกฤตฟองสบู่
- ผลจากวิกฤตฟองสบู่ Internet ส่งผลให้หุ้น NASDAQ ตกอย่างมหาศาล ทำให้ระบบการเงินทั่วโลกล่มสลาย ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า ราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะทองคำกับน้ำมัน
- ช่วงปี 2001-2006 ราคาทองคำปรับตัวสูงกว่า 333 ดอลลาร์ จาก 271 ดอลลาร์เป็น 604.34 ดอลลาร์หรือ 122%
- วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
- เกิดขึ้นในช่วงปี 2008 สาเหตุมาจากสหรัฐฯ มีการพิมพ์ธนบัตรมากจนเกิดภาวะเงินเฟ้อ จนส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว
- ทองคำกลับเป็นสินทรัพย์เดียวที่ราคาไม่ลดลง จึงทำให้ทองคำกลายเป็นหลุมหลบภัยของนักลงทุนตั้งแต่นั้นมา
- ช่วงปี 2008-2011 ราคาทองคำปรับตัวสูงกว่า 700 ดอลลาร์ จาก 872.37 ดอลลาร์เป็น 1,573.16 ดอลลาร์หรือกว่า 80%
- สงครามการค้าจีน-สหรัฐ, วิกฤตโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน
- ปี 2019 เกิดความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ จนเกิดเป็นสงครามการค้า จนมีการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ต่อด้วยสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน
- ช่วงปี 2019-2022 ราคาทองคำปรับตัวสูงกว่า 407.66 ดอลลาร์ จาก 1,393.34 ดอลลาร์เป็น 1,801.87 ดอลลาร์ หรือกว่า 30% จากปี 2019 พบว่าทองคำได้ทะลุ 2,000 ดอลลาร์ในปี 2022
- ความไม่แน่นอนของหลายสถานการณ์
- ปี 2024 เกิดความขัดแย้งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ความตึงเครียดของสถานการณ์ในทะเลจีนใต้, สงครามในตะวันออกกลาง ความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจของจีนและการเลือกตั้งสหรัฐฯ
- การเข้าซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางหลายประเทศ
- ส่งผลให้ราคาทองคำสูงทะลุ 2,400 ดอลลาร์เป็นที่เรียบร้อย โดยมีราคาสูงถึงกว่า 621 ดอลลาร์
จากข้อมูลจะพบว่าตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องแต่จะเกิดการปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงที่เกิดวิกฤตครั้งสำคัญของโลกทำไมทองคำถึงเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากที่สุด และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของทองคำที่เป็น หลุมหลบภัยของนักลงทุน
ทำไมทองคำจึงเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
ทุนสำรองระหว่างประเทศคืออะไร
คือ เงินตราและสินทรัพย์ในสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยรวมทองคำด้วย ที่ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ได้ทำการถือครองไว้ เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการพิมพ์ธนบัตร สร้างเสถียรภาพด้านต่างประเทศและความน่าเชื่อถือให้กับคนในประเทศและต่างประเทศ
- สร้างเสถียรภาพของค่าเงิน หากค่าเงินเกิดการอ่อนค่ารุนแรงสามารถนำเงินสกุลต่างประเทศหรือทองคำขายเป็นเงินบาทหรือสกุลเงินที่ต้องการได้ เป็นการเพิ่มปริมาณเงินเข้าระบบโดยใช้ทุนสำรองนั่นเอง
- สร้างความเชื่อมั่นในการค้าและการลงทุนจากชาวต่างชาติ
ทุนสำรองระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง
- เงินสกุลต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ดอลลาร์, ยูโร, ปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ และฟรังก์สวิส เป็นต้น
- พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ ถือครองไว้เพื่อเพิ่มผลกำไร
- สินทรัพย์ส่งสมทบกองทุน IMF หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
- สิทธิพิเศษถอนเงิน : Special Drawing Rights (SDR) สามารถถอนได้มากน้อยขึ้นอยู่กับความมั่นคงของเศรษฐกิจประเทศนั้น ๆ
- ทองคำ เป็นสินทรัพย์เดียวที่ไม่มีสกุลเงิน
ทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลกเป็นอย่างมาก ทองคำมีมูลค่ามีความน่าเชื่อถือสูงจนได้รับการยอมรับให้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ช่วยสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และช่วยป้องกันผลที่เกิดจากวิกฤตต่าง ๆ จากเศรษฐกิจของโลก
ทำไมทองคำจึงเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
- เพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทองคำเหมาะอย่างยิ่งที่เป็นสินทรัพย์ที่ลงทุนถือไว้ระยะยาวเนื่องจากสามารถรักษามูลค่าได้ สร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจของประเทศ มีความสำคัญมากในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
- รักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ในอดีตมีการใช้ทองคำเป็นหลักค้ำประกันในการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ในระบบการเงินแต่ได้ถูกยกเลิกไป แต่หลายประเทศก็ยังเลือกถือทองคำเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน
- บริหารความเสี่ยง การถือครองทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจหลายครั้งเกิดจากความผันผวนของค่าเงิน
- การเกิดสงคราม ทองคำถือว่าเป็นหลุมหลบภัยทางเศรษฐกิจชั้นดี ช่วยให้สินทรัพย์ต่าง ๆ มีความปลอดภัยมากเมื่อเกิดภาวะสงครามขึ้น
- ป้องกันความผันผวนจากตลาดการเงิน อย่างที่ทราบดีว่าราคาทองคำขึ้นเมื่อดอลลาร์อ่อนค่าลง สกุลเงินใดมีความเสี่ยงต่อวิกฤตค่าเงิน นำสกุลเงินดังกล่าวมาลงทุนในทองคำจะดีที่สุดช่วยรักษาค่าเงินนั้นไว้
- เสถียรภาพด้านต่างประเทศ การมีทองคำเป็นทุนสำรองช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศ เพิ่มความน่าเชื่อถือส่งผลให้เกิดการลงทุนและการค้าได้ง่ายขึ้น
10 ประเทศที่มีทองคำสำรองมากที่สุดในโลก
จากการจัดอันดับของสภาทองคำโลกในปี 2024 เนื่องจากทองคำเป็นทรัพย์สินที่มีความปลอดภัยและความมั่นคงมาก จึงได้รับความนิยมจากนักลงทุนรายเล็กและรายใหญ่ได้ทำการซื้อทองคำเก็บไว้เพื่อเกร็งกำไรในอนาคต โดยประเทศที่มีการถือครองทองคำมากที่สุด 10 อันดับดังรูปภาพ
10 ประเทศถือทองคำมากที่สุด อันดับ 1 สหรัฐฯ 8,133.46 ตัน,อันดับ 2 เยอรมันนี 3,352.65 ตัน, อันดับ 3 อิตาลี 2,451.84 ตัน, อันดับ 4 ฝรั่งเศส 2,436.97 ตัน, อันดับ 5 รัสเซีย 2,332.74 ตัน, อันดับ 6 จีน 2,235.39 ตัน, อันดับ 7 สวิตเซอร์แลนด์ 1,040 ตัน, อันดับ 8 ญี่ปุ่น 845.97 ตัน, อันดับ 9 อินเดีย 803.58 ตัน, อันดับ 10 เนเธอร์แลนด์ 612.45 ตัน ที่มา เว็บไซต์สภาทองคำโลก (URL: https://www.gold.org/goldhub/data/gold-reserves-by-country)
ปัจจัยเบื้องหลังที่สร้างความผันผวนกับราคาทองคำเกิดจากอะไร
ถึงแม้ว่าทองคำจะเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด แต่ก็เป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนของราคาสูงเช่นกัน เรามาดูว่าปัจจัยเบื้องหลังอะไรบ้างที่ทำให้เกิดความผันผวนของราคาทองคำ
- ความต้องการซื้อขาย ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากปริมาณการผลิตทองคำต่อปีมีน้อยกว่าความต้องการมาก ส่งผลให้ราคาทองคำสูงขึ้น 3 กลุ่มหลักที่มีความต้องการทองคำเสมอ
- อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการใช้ทองคำเป็นส่วนประกอบ เช่น อุปกรณ์อิเล็คทอนิกส์และการสื่อสารคมนาคม และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ใช้ในการเดินแผงวงจรช่วยให้การนำไฟฟ้าได้ดี
- เครื่องประดับ ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มประเทศของเอเชียและอินเดีย
- การออมและการลงทุน โดยประเทศต่าง ๆ ใช้ทองคำในการหลักค้ำประกันเพื่อพิมพ์ธนบัตรออกมากระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งมีวิวัฒนาการจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในอดีต
- สงคราม
- เมื่อมีข่าวที่เกี่ยวกับสงคราม สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงและเข้าซื้อทองคำแทน
- สงครามที่มีผลมาก ก็คือ สงครามระหว่างประเทศมหาอำนาจ เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน, อิสราเอล-อิหร่าน ทำให้ทิศทางเศรษฐกิจเกิดความไม่แน่นอน
- ภาวะเงินเฟ้อ
- การเกิดภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลให้ค่าเงินลดลง และทองคำสามารถป้องกันการหายของมูลค่าของเงินได้ดีมากที่สุด
- อัตราดอกเบี้ยของเฟด
- การขึ้นลงอัตราดอกเบี้ยของเฟด เป็นสัญญาณบ่งบอกสภาวะเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี
- ถ้าอัตราดอกเบี้ยเฟดลดลงราคาทองคำก็จะพุ่งสูงขึ้น แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ราคาทองคำลดลง
- จุดสำคัญอีกอย่างของทองคำก็คือ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีการเกิดดอกเบี้ยขึ้น แค่เพียงถือครองให้ราคาขึ้นเท่านั้น หากในภาวะเศรษฐกิจปกติก็จะทำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ตอบแทนดีกว่า
บทสรุป
ทองคำสามารถเป็นที่พึ่งในยามเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี เนื่องจากทองคำรักษามูลค่าเอาชนะเงินเฟ้อได้ มีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศช่วยให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ ทองคำจึงเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด และเป็นที่ต้องการของคนทั่วไปและนักลงทุนเสมอ
ทองคำเป็นที่พึ่งในยามวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างไร
ความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์สหรัฐและราคาทองคำ USD VS GOLD
เทรด XAUUSD ต่างกับซื้อทองปกติยังไง
ทำความเข้าใจ CFD อย่างละเอียด
การใช้เลเวอร์เลจ (Leverage) ในการเทรด XAUUSD