ปัจจุบันในการซื้อขายทองคำในตลาด Forex ต้องมีการอ้างอิงของราคาทองคำผ่านเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงทำให้ราคาทองคำในตลาด Forex จึงมีความสัมพันธ์กับ USD อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงถือว่าการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง USD กับราคาทองคำเป็นเรื่องพื้นฐานที่เทรดเดอร์ต้องให้ความสำคัญ เพราะว่าการต้องการทำกำไรผ่านการซื้อขายทองคำ XAUUSD ต้องดูการแข็งค่าอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ นอกจากเงินดอลลาร์สหรัฐแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้น บทความนี้จะนำเสนอที่มาของความสัมพันธ์ระหว่าง USD กับราคาทองคำ ความสัมพันธ์ระหว่าง USD กับราคาทองคำ และปัจจัยอะไรบ้างที่มีความสำคัญต่อการขึ้นลงของราคาทองคำ
ที่มาของความสัมพันธ์ระหว่าง USD กับราคาทองคำ
ช่วงก่อนเกิดความสัมพันธ์ระหว่าง USD กับราคาทองคำ
- ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 การแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยทองคำเป็นมาตรฐานการค้าที่นิยมมากที่สุด เมื่อเริ่มมีการพัฒนาพิมพ์กระดาษเป็นเงิน และเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินและค้าขายได้อย่างสะดวกธนาคารทั่วโลกจึงตกลงใช้ ระบบที่เรียกว่า Gold Standard ที่มีการค้ำเงินกระดาษด้วยทองคำได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างทองคำและเงินดอลลาร์
- ปี 1920 เงินดอลลาร์เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศแทนที่เงินปอนด์สเตอร์ลิงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งในเวลานี้สหรัฐอเมริกามีทองคำเป็นจำนวนมากเพราะว่ามีการสะสมระหว่างสงครามโลก
ช่วงความสัมพันธ์ระหว่าง USD กับราคาทองคำ
- 1944 ได้กำเนิดสัญญา Bretton Woods ที่กำหนดให้ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินสากลอย่างเป็นทางการ โดยมีการให้มูลค่าทองคำ 1 ออนซ์มีค่า 35 ดอลลาร์ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางเศรษฐกิจจากการกำหนดค่าเงินของแต่ละประเทศและนี่คือจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของความสัมพันธ์ระหว่างดอลลาร์และทองคำ
- 1960 การส่งออกของประเทศยุโรป,ญี่ปุ่น และอเมริกามีการแข่งขันค่อนข้างสูงแต่เงินดอลลาร์ในขณะนั้นกำลังเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลกเนื่องจากมีการซื้อขายกับอเมริกาค่อนข้างเยอะ ในการพิมพ์เงินออกมาใช้แต่ละครั้งจะต้องใช้เอาทองคำมาค้ำซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก
- 1968 ความต้องการในทองคำพุ่งสูงขึ้นมาก จึงทำให้สหรัฐอเมริกายกเลิกข้อกำหนดในการพิมพ์ธนบัตรที่มีการค้ำด้วยทองคำ
- ปี 1968-1971 สหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลลาร์กับราคาทองคำเนื่องจากสงครามเวียดนามและความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดจากวิกฤตน้ำมัน
- ปี 1971 สหรัฐอเมริกาภายในการนำของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เริ่มมีนโยบายพิมพ์เงินดอลลาร์โดยที่ไม่ต้องมีการสำรองทองคำก่อน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ราคาทองคำมีสวนค่ากับเงินดอลลาร์เพราะว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเลือกเก็บทองคำมากกว่าดอลลาร์
ช่วงที่ราคาทองคำลอยตัวจาก USD
- ปี 1972 ทำให้ราคาทองคำเพิ่มมากขึ้นจาก 35 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็น 38 ดอลลาร์ต่อออนซ์
- ปี 1973 ราคาทองคำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 42.22 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการใช้เงินดอลลาร์ที่มากเกินไปในการแลกเปลี่ยนทองคำจึงทำให้เกิดการสิ้นสุดลงของสัญญา Bretton Woods จากนั้นก็ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาจึงเป็นสกุลเงินลอยตัว
- ปี 1974 เกิดภาวะเงินฝืดในระยะยาว เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันและสงครามตะวันออกกลาง ทำให้ทองคำกลายเป็นที่ต้องการมากในเวลานั้นจนราคาทองคำพุ่งไปที่ 183 ดอลลาร์
- ปี 1975 เริ่มมีการเทรดทองคำในตลาดแลกเปลี่ยนนิวยอร์กและชิคาโก
- ปี 1976 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ก็ได้ละทิ้งระบบ Gold Standard อย่างสิ้นเชิง
- ปี 1979 เกิดวิกฤตน้ำมันโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้ในเดือนมกราคม 1980 ราคาทองคำพุ่งเป็น 678 ดอลลาร์
- ปี 1980 เดือนกันยายน ราคาทองคำยังอยู่ที่ 675 ดอลลาร์ เฟดได้ตัดสินใจยุติภาวะเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเลขสองหลักแต่กลับส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- ปี 1981 โลกได้เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงไปถึง 2 เท่าใน 3 เท่า
- ปี 2003-2004 ราคาทองคำทะลุไปที่ 400 ดอลลาร์และนักลงทุนเริ่มหันมาซื้อทองคำกันมากขึ้นเพื่อประกันความเสี่ยงในการลงทุน
- ปี 2007-2008 โลกได้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ สหรัฐอเมริกาเลือกที่จะพิมพ์เงินไม่อั้นและเป็นหนี้มหาศาลเพื่อที่อุ้มเศรษฐกิจจึงทำให้เงินดอลลาร์เกิดการแข็งค่าขึ้นมา แต่ทำให้ราคาทองคำพุ่งไปถึง 1,000 ดอลลาร์
- ปี 2014 ประเทศรัสเซียเริ่มมีการแอนตี้เงินดอลลาร์ด้วยการเลือกไม่ใช้เงินดอลลาร์และคว่ำบาทประเทศตะวันตก
- ปี 2022 มีการเข้าซื้อทองคำกันจำนวนมากจากธนาคารกลางจากทั่วโลกซึ่งถือว่ามากเป็นประวัติการณ์จึงส่งผลให้ราคาทองคำมีความผันผวน ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย จีน หรือรัสเซีย และเกิดเหตุการณ์สำคัญนั่นก็คือ สงครามยูเครน ก็เกิดการร่วมมือระหว่างรัสเซียกับจีนในการสร้างระบบการเงินขึ้นมาเองด้วยการใช้เงิน ruble-yuan
- ปี 2023 เริ่มมีการก่อตั้งกลุ่มที่เรียกว่า BRICS ได้แก่ รัสเซีย, จีน, อินเดีย, UAE, บราซิล และอาร์เจนติน่า ต้องการสร้างสกุลเงินขึ้นมาเองเพื่อเอาชนะสกุลเงินดอลลาร์และเงินยูโร เริ่มต้นจากบราซิลและอาร์เจนติน่ามีการร่วมกันผลิตสกุลเงิน UAE และอินเดีย เริ่มนำเอาเงินรูปีมาแลกเปลี่ยนสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน และรัสเซียกับอิหร่านเริ่มจะทำการเหรียญคริปโตที่มีการค้ำด้วยทองคำ
- ปี 2024 มีการคาดการณ์ว่าราคาทองคำมีโอกาสทะลุไปถึง 2,400 ดอลลาร์ ด้วยปัจจัยหลักก็คือ สงคราม, การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด และการเข้าซื้อทองคำของธนาคารทั่วโลกเป็นจำนวนส่งผลให้ราคาทองคำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่าง USD กับราคาทองคำ
- จากความเป็นมาของความสัมพันธ์ระหว่างเงินดอลลาร์กับทองคำ เริ่มต้นมาจากระบบ gold standard ซึ่งราคาทองคำ 1 ออนซ์มีค่าเท่ากับ 35 ดอลลาร์ ระบบ gold standard ได้ถูกใช้ในช่วงปี 1900-1971 และในปี 1971 ระบบ gold standard ก็ได้ยุติบทบาทลง ทำให้ค่าเงินดอลลาร์และทองคำมีการประเมินมูลค่าความต้องการของตลาด และเงินดอลลาร์ได้กลายเป็นสกุลเงินเฟียตที่จะถูกประกาศให้มีมูลค่าโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศไม่ต้องมีการใช้ทองคำในการค้ำประกันอีกต่อไป สกุลเงินดอลลาร์มีการซื้อขายในตลาดต่างประเทศและถูกใช้เป็นเงินทุนสำรอง
ทองคำเริ่มใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวหลังปี 1971 ทำให้ราคาทองคำจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2008 ทาง IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ประมาณการว่าการเคลื่อนไหวของราคาทองตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมามีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเงินดอลลาร์แค่เพียง 1% เท่านั้นส่วนปัจจัยภายนอกมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 1%
ทำไมราคาทองคำจึงแปรผกผันกับเงินดอลลาร์
หากเทรดเดอร์ได้ทำการศึกษาความสำคัญระหว่างราคาทองคำกับสกุลเงินดอลลาร์จะพบว่า เมื่อเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงก็จะส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นแต่ถ้าสกุลเงินดอลลาร์เกิดการแข็งค่าขึ้นก็จะพบว่าราคาทองคำจะลดลง ซึ่งได้มีการพบรูปแบบการผกผันแบบนี้ตั้งแต่ยกเลิกการใช้ระบบ gold standard นั่นเป็นเพราะว่า
- เมื่อการอ่อนค่าลงของสกุลเงินดอลลาร์นั่นหมายความว่า ความต้องการเงินดอลลาร์มีน้อยลงแต่ความต้องการในสกุลเงินของประเทศอื่นเพิ่มขึ้นและสกุลเงินประเทศนั้น ๆ เกิดการแข็งค่า ในขณะเดียวกันความต้องการในทองคำก็เพิ่มเช่นกันจึงทำให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้น
- เมื่อเงินดอลลาร์เริ่มมีมูลค่าน้อยลงจึงทำให้นักลงทุนมองสินทรัพย์ทางเลือกอื่นในการเพิ่มมูลค่าการลงทุน และทองคำก็เป็นทางเลือกหนึ่งเสมอ
แต่อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์ต้องเข้าใจก่อนว่ามีความเป็นไปได้ที่ราคาทองคำและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะมีการเพิ่มขึ้นในเวลาเดียวกัน สิ่งนี้จะสามารถเกิดขึ้นหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศหรือภูมิภาคอื่น เพราะว่านักลงทุนต้องการสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยอย่าง ดอลลาร์สหรัฐและทองคำ เงินดอลลาร์สหรัฐได้รับการสนับสนุนจากหลายปัจจัยจากนักลงทุน เช่น การให้ความสำคัญกับนโยบายการเงินและอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาหรือแนวโน้มเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ
ที่ผ่านมาเราจะเห็นถึงความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างใกล้ชิดระหว่างทองคำและสกุลเงินดอลลาร์ ที่นักลงทุนต่างมองว่าทั้งสองสินทรัพย์มีความปลอดภัยในอันดับต้น ๆ นอกจากสกุลเงินดอลลาร์แล้วยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ อีกที่เทรดเดอร์ต้องคอยติดตามข่าวสารเนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ก็ส่งผลต่อราคาทองคำโดยตรงเช่นกัน ได้แก่
อัตราดอกเบี้ยและนโยบายการเงิน
- สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้นจะมีความสัมพันธ์ตรงข้ามกับราคาทองคำเช่นเดียวกับสกุลเงินดอลลาร์
- ถ้าหากมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแปลว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ผู้คนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า ราคาทองคำจะปรับตัวลดลง
- แต่ถ้าหากมีการลดอัตราดอกเบี้ยลง สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีการชะลอตัว ดอลลาร์อ่อนค่าลง ราคาทองคำก็จะพุ่งสูงขึ้น
ความต้องการของทองคำ
- เป็นเรื่องของอุปสง-อุปทาน ในปัจจุบันจะพบว่าทองคำได้ถูกใช้ในหลายภาคส่วน
- อุตสาหกรรมที่นิยมใช้ทองคำมาเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องประดับ, อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการแพทย์ และการลงทุนเพื่อหวังกำไร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่ต้องการจากคนทั่วโลก
- ปัจจุบันธนาคารกลางทั่วโลกนิยมซื้อทองคำเก็บไว้เพื่อเป็นทุนสำรองมากขึ้นจึงทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันโลก
- สำหรับราคาน้ำมันและราคาทองคำจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ก็คือ ถ้าราคาน้ำมันขึ้นแสดงว่าราคาทองคำก็จะขึ้นด้วย และถ้าราคาน้ำมันลงราคาทองคำก็จะลงตามด้วย
- น้ำมันและทองคำถือว่าเป็นกลุ่มสินทรัพย์ที่นักลงทุนจะเลือกลงทุนด้วยกัน ก็คือ หากซื้อน้ำมันก็จะทำการเข้าซื้อทองคำด้วย
ภาวะวิกฤตระดับโลก
- ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะวิกฤตระดับโลกกับทองคำจะเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก
- หากเกิดวิกฤตที่มีผลต่อคนทั้งโลกก็จะส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมีสงครามเกิดขึ้นหรือเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
- เพราะว่าทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง จึงสร้างความอุ่นใจและเชื่อมั่นต่อผู้ถือครองได้อยู่เสมอ
อัตราเงินเฟ้อ
- จะเน้นไปอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก
- หากมีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลให้ราคาทองคำสูงขึ้นด้วย
- เนื่องจากหากมีอัตราเงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงส่งผลให้นักลงทุนเลือกลงทุนกับทองคำมากกว่าถือเงินดอลลาร์
บทสรุป
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง USD กับราคาทองคำจะมีประวัติมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เริ่มต้นด้วยระบบ gold standard แม้ว่าในปัจจุบันระบบนี้จะได้ถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทองคำกับเงินดอลลาร์ก็ยังคงมีอยู่แม้ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ที่แปรผกผันกันก็ตาม ซึ่งก็ยังทำให้มองเห็นว่าค่าเงินดอลลาร์ก็ยังมีผลต่อราคาทองคำเสมอไม่ทางตรงก็ทางอ้อม นอกจากเงินดอลลาร์แล้วก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อราคาทองคำที่เทรดเดอร์ควรติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถคาดเดาว่าราคาทองคำในปัจจุบันกำลังไปในทิศทางไหน เพิ่มโอกาสทำกำไรส่งเสริมให้พอร์ตทองคำของเทรดเดอร์เติบโตได้อย่างมั่นคง