ทำไมทองคำถึงมีค่า กับคนทั้งโลก
ทองคำถูกจัดอยู่ในกลุ่มโลหะมีค่าและเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง ถือได้ว่าเป็นโลหะที่มีสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม คนทั่วโลกนิยมใช้แสดงออกถึงความมั่นคั่งและการมีอำนาจ ด้วยปริมาณที่มีน้อยและมีกรรมวิธีที่ได้มายาก จึงทำให้ทองคำมีราคาสูงขึ้นอยู่เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
ด้วยมูลค่าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและได้รับความนิยมจากคนทั่วโลก ทำให้ทองคำสามารถสร้างสภาพคล่องได้เป็นอย่างดีในยามวิกฤตเศรษฐกิจจนได้ชื่อว่าเป็นหลุมหลบภัยของนักลงทุน
เหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ทองคำมีค่าเสมอ
- ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง อำนาจ และความสง่างาม
- ถูกยกย่องให้อยู่สถานะสูงส่งอยู่เสมอ เป็นโลหะที่ถูกต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นวัสดุในการสร้างเป็นตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ผู้คนเคารพบูชา
- ถูกใช้เป็นเครื่องประดับและใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนทางการค้ามานานนับพันปี เช่น ประเทศจีนมีการเก็บทองเป็นก้อนขนาดเล็กเพื่อแลกกับสินค้าต่าง ๆ หรือมีการผลิตเหรียญทองคำลิเดีย เป็นต้น
- มีบทบาทที่สำคัญในทางเศรษฐกิจถูกใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อเป็นหลักประกันในพิมพ์ธนบัตรหรือเงินสดมาใช้ในประเทศ
- มีค่านำไปแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่าง ๆ ได้ทันที
- มูลค่าของทองคำเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจึงเป็นอีกช่องทางการลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วไป
- เป็นของหายากและสกัดได้ยาก
- มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่มีความอ่อนตัวทำให้ขึ้นรูปได้ตามต้องการ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ทันตกรรม, การแพทย์ และอุตสาหกรรมด้านการป้องกันประเทศ เป็นต้น
- มีความทนทานและไม่กัดกร่อนหรือย่อยสลายไปตามกาลเวลา เป็นสมบัติที่ส่งต่อรุ่นต่อรุ่นได้
- มีความสวยงามทางสายตาและมีเสน่ห์ดึงดูดใจ
คุณสมบัติสำคัญของทองคำมีอะไรบ้าง
ทองคำถูกจัดให้เป็นแร่ธาตุลำดับที่ 79 ของตารางธาตุ โดยสัญลักษณ์ที่แสดงบนตารางธาตุคือ Au ลักษณะของทองคำเป็นโลหะแข็งสีเหลืองที่มีความมันวาว เป็นธาตุอิสระในธรรมชาติไวต่อการทำปฏิกิริยา มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่สูง ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้
- เป็นโลหะมีความมันวาว (Luster) ด้วยสีสันตามธรรมชาติที่สวยงาม ทองคำมีสีเหลืองสว่างสดใส มีความสุกเปล่งปลั่ง และมีประกายมันวาวสามารถดูดสายตาแก่ผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี
- มีความคงทน (Durable) ทองคำเป็นโลหะที่อ่อนตัวและเหนียว สามารถทำให้เป็นเส้นทองที่มีความยาวได้ถึง 50 ไมล์ ถึงทองคำจะไวต่อการทำปฏิกิริยาแต่ทองคำกลับไม่เกิดสนิม สีสันไม่มีหมอง และไม่มีการสึกกร่อนใด ๆ
- เป็นโลหะหายาก (Rarity) ต้องมีการขุดเหมืองที่มีความลึกหลายสิบเมตรเกิดอุบัติเหตุอันตรายถึงชีวิตได้เสมอ การขุดทองคำจึงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก จึงทำให้ทองคำมีราคาสูงตามไปด้วย
- เกิดการใช้ซ้ำได้ (Reuseable) ด้วยคุณสมบัติที่มีความคงทนทำให้สามารถนำทองคำมาแปรรูปเป็นเครื่องประดับ หรือสามารถทำให้บริสุทธิ์ด้วยการหลอมนำกลับมาใช้ใหม่ได้
คุณสมบัติที่สำคัญของทองคำ ได้แก่ เป็นโลหะมีความมันวาวมีสีเหลืองสว่างสดใสเปล่งปลั่ง, มีความคงทน ไม่เกิดสนิม สีไม่หมองและไม่สึกกร่อน, หายากมีขั้นตอนการขุดและสกัดที่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายสูง และหลอมนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ปริมาณทองคำทั่วโลกมีอยู่เท่าไหร่
ด้วยคุณสมบัติของทองคำที่เป็นโลหะและมีความมันเงา ความยากลำบากในการค้นหาและการผลิต จึงทำให้มนุษย์เกิดการรับรู้ว่าทองคำเป็นสินค้ามีค่า
- จากข้อมูลของสภาทองคำโลกพบว่ามีการขุดทองคำไปแล้วมากกว่า 190,000 ตันหรือมากกว่า 6,000 ล้านออนซ์ หรือมีขนาดเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิกประมาณ 3 สระ
- อาจดูว่าเหมือนมีปริมาณมากแต่ปริมาณ 2 ใน 3 ของทองคำได้ถูกขึ้นมาตั้งแต่ปี 1950
- ด้วยคุณสมบัติของทองคำที่มีความคงตัวไม่สูญสลายจึงทำให้ทองคำที่ได้รับการขุดขึ้นมายังหมุนเวียนอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ข้อมูลการขุดทองคำในปี 2024 ของประเทศต่าง ๆ มีดังรูปภาพ
10 ประเทศผลิตทองคำสูงสุด ได้แก่ อันดับ 1 จีน 375.0 ตัน, อันดับ 2 รัสเซีย 324.7 ตัน, อันดับ 3 ออสเตรเลีย 313.9 ตัน, อันดับ 4 แคนาดา 194.5 ตัน, อันดับ 5 สหรัฐฯ 172.7 ตัน, อันดับ 6 กานา 127.0 ตัน, อันดับ 7 เปรู 125.7 ตัน, อันดับ 8 อินโดนีเซีย 124.9 ตัน, อันดับ 9 เม็กซิโก 124.0 ตัน, อันดับ 10 อุซเบกิสถาน 110.8 ตัน ที่มา: worldpopulationreview.com
แหล่งที่มาของทองคำ
อย่างที่เราทราบว่าทองคำเป็นธาตุทางเคมี และทางกรมทรัยากรธรณีได้แบ่งการเกิดของทองคำไว้ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่
- การเกิดทองคำแบบปฐมภูมิ ได้ทองคำมาในรูปแบบของการขุดเหมืองแร่
- เป็นกระบวนการตามธรรมชาติโดยกระบวนการทางธรณีวิทยา
- เกิดจากน้ำแร่ร้อนผสมผสานตัวกับสารละลายพวกซิลิกาจนเกิดเป็นแร่ทองคำ
- ทำการสะสมในชั้นหินต่าง ๆ โดยจะพบในหินอัคนี หินชั้น และหินแปร
- จึงต้องมีการขุดเหมืองลงไปในชั้นหินเหล่านี้เพื่อนำทองคำขึ้นมาสกัดนั่นเอง
- เหมืองแร่ทองคำระดับโลก ได้แก่ เหมืองมะโปเน็ง แอฟริกาใต้, เหมืองซูเปอร์พิต นิวมอนต์ บอดดิงตัน ออสเตรเลีย, เหมืองกราสเบิร์ก อินโดนีเซีย และในรัฐเนวาดา สหรัฐฯ
- การเกิดทองคำแบบทุติยภูมิหรือลานแร่ จึงได้ทองคำมาจากการร่อนแร่ทองคำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ
- เนื่องจากการที่หินมีแร่ทองคำที่เกิดแบบปฐมภูมิได้เกิดการผุกร่อนถูกน้ำพัดพาไปสะสมในที่แห่งใหม่ เช่น ตามเชิงเขา, ลำห้วย หรือตะกอนกรวดทรายในลำน้ำต่าง ๆ
- จึงเกิดอาชีพการร่อนหาแร่ทองคำตามแหล่งน้ำที่พบว่ามีแร่ธาตุทองคำอยู่
- แอ่งที่ราบวิตวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand Basin) ในแอฟริกาใต้ ถือว่าเป็นแหล่งแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยคิดเป็น 30% ของทองคำที่เคยขุดมาทั้งหมด
ทำไมทองคำมีน้อย
จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าราคาทองคำมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งเกิดจากปริมาณทองคำที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ และนี่คือทฤษฎีใหม่ที่ทำให้ทองคำมีน้อยบนโลกนี้
- โลกผลิตทองคำเองไม่ได้ เป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นใหม่ใน 10 ที่ผ่านมาว่า ทองคำที่อยู่ใต้ผิวโลกที่ถูกขุดขึ้นมาได้นั้นไม่ได้เกิดจากโลกแต่เกิดจากการอุกกาบาตรทองคำได้พุ่งเข้ามาชนโลกเมื่อหลายล้านปีก่อน
- ความยากในการเกิดทองคำ อีกสาเหตุที่ทองคำมีน้อยเพราะการเกิดทองคำนั้นต้องใช้พลังงานที่มหาศาลระดับ Supernova ซึ่งบนโลกไม่สามารถทำให้เกิดได้ ต้องมาจากจักรวาลซึ่งมาจากอุกกาบาตทองคำนั่นเอง
- อุกกาบาตทองคำชนโลก เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นยากจึงทำให้ทองคำมีปริมาณน้อยบนโลกนี้ และนาซ่าได้มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย Psyche ที่มีแร่ทองคำมหาศาล จึงทำให้กับทฤษฎีใหม่นี้มีความน่าเชื่อถือ
ทฤษฎีใหม่ กล่าวว่าโลกสร้างทองคำไม่ได้ เนื่องจากใช้พลังงานมหาศาลระดับ Supernova ทองคำเกิดจากอุกกาบาตทองคำชนโลก นาซ่าพบดาวเคราะห์น้อย Psyche ที่มีแร่ทองคำมหาศาลสนับสนุนทฤษฎีนี้
การประโยชน์ของทองคำ
สิ่งสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำสูงขึ้นก็คือ ความต้องการในทองคำ นั่นเอง ด้วยการขุดพบทองคำแต่ละปีมีปริมาณน้อยลงไปเรื่อย ๆ แต่กลับพบว่ามีความต้องการในทองคำสูงขึ้น ซึ่งประโยชน์ของทองคำที่ถูกทั่วโลกมีดังนี้
- ประมาณ 49% ของทองคำทั้งหมด หรือราว 84,300 ตัน ถูกใช้ผลิตเป็นเครื่องประดับและได้รับการถือครองจากผู้หญิงอินเดียมากที่สุดในโลก ทองคำนิยมถูกใช้ในพิธีสำคัญทางสังคมอย่างพิธีแต่งงาน
- ประมาณ 19% ของทองคำทั้งหมด หรือราว 33,000 ตัน ถูกนำไปใช้เพื่อการลงทุนและเกร็งกำไร โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปทองคำแท่ง
- ประมาณ 17% ของทองคำทั้งหมด หรือราว 29,500 ตัน ถูกใช้เป็นทุนสำรองของธนาคารประเทศต่าง ๆ โดยธนาคารสหรัฐฯ มีการถือครองทองคำมากที่สุด และกำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ประมาณ 13% ของทองคำทั้งหมด หรือราว 20,800 ตัน ถูกใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น วงการอิเล็คทรอนิกส์และการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากทองคำนำกระแสไฟฟ้าได้ดี
- ประมาณ 2% ของทองคำทั้งหมด หรือราว 3,700 ตัน ถูกนำไปใช้ในด้านอื่น ๆ เช่น ส่วนประกอบในการทำอาหาร หรือเพื่อความสวยความงาม เป็นต้น
จากรูปกราฟจะพบว่าทองคำส่วนใหญ่ถูกใช้ประโยชน์ไปกับการเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศอินเดียมากถึง 49% ที่เหลือจะเป็นการใช้เพื่อการลงทุน ทุนสำรองระหว่างประเทศมากถึง 31% และมีการใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนาน 13% และด้านอื่น ๆ จะเป็นเกี่ยวกับความงามและอาหาร 2%
ปัจจัยอะไรบ้างที่มีส่งผลต่อราคาทองคำ
นอกจากปริมาณทองคำที่น้อยและมีวิธีการได้มาที่ยากแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ส่งผลต่อราคาทองคำ ดังนี้
- เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงวิกฤติ หรือ Safe Haven
- หลายคนเชื่อว่าทองคำสามารถรักษามูลค่าไว้ได้ดีกว่าในระยะยาว
- ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่เป็นอิสระทางการเมืองและการตลาด จึงเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินใด ๆ ก็ได้
- ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เมื่อราคาของหุ้น, ค่าเงิน หรือสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนรุนแรงเกิดขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำสูงขึ้น
- ความขัดแย้งทางการเมืองจนเกิดสงครามระหว่างประเทศมหาอำนาจ
- เป็นผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์หรือการเมืองที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นและมีผลต่อการลงทุน
- การเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลก็มีผลเช่นกัน ทำให้นักลงทุนเกิดความไม่แน่ใจว่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของพวกเขาอย่างไรบ้าง ทำให้ทองคำจึงเป็นที่หลบภัยของนักลงทุน
- การเกิดอัตราเงินเฟ้อ นำไปสู่เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก เนื่องจากราคาทองคำมีราคาสูงขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นและราคาทองคำลดลงเมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืด
- การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร หากอัตราดอกเบี้ยต่ำจะทำให้ความต้องการในทองคำมีมากส่งผลให้ราคาทองคำสูงขึ้น แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงจะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าทองคำ
- ความต้องการในทองคำ หากมีความต้องการในทองคำที่สูงก็จะส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้น แต่ถ้าหากความต้องการในทองคำลดลงก็ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลงนั่นเอง
- การอ่อนค่าและแข็งค่าของเงินดอลลาร์ หากนักลงทุนได้มีการลงทุนในตลาด Forex จะมีคู่สกุลเงิน XAUUSD ซึ่งราคาทองคำจะผูกกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าดอลลาร์อ่อนค่าราคาทองคำจะสูงขึ้นแต่ถ้าดอลลาร์แข็งค่าก็จะส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลง
จุดอ่อนสำคัญของทองคำ
ถึงแม้ว่าทองคำจะได้รับการยอมรับจากนักลงทุนทั่วโลกว่า เป็นหลบหลุมภัยของนักลงทุนที่สร้างสภาพคล่องในยามวิกฤตได้ แต่ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ไม่เกิดการปันผลในระหว่างการถือครอง ดังนั้นหากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเศรษฐกิจความต้องการของทองคำก็จะลดลง เนื่องจากมีทางเลือกอื่นที่ทำให้เกิดการปันผลทำกำไรได้มากกว่า
บทสรุป
เหตุผลหลักที่ทำให้ทองคำมีค่าต่อคนทั้งโลก เนื่องด้วยคุณสมบัติสำคัญของทองคำที่มีความคงทนไม่สึกกร่อน ได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง อำนาจ และความสง่างาม เป็นโลหะมีค่าที่มีสภาพคล่องสูงจนเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก โดยถูกใช้เป็นทุนสำรองของนักลงทุนป้องกันวิกฤตทางการเงินเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจที่รุนแรง